เรื่อง : การทำบุญ
การทำบุญมิใช่เพียงแค่การให้เงิน หรือการซื้อสิ่งของกินของใช้ฯลฯ เพื่อหวังผลในภายภาคหน้า แต่การทำบุญที่แท้จริงนั้น จุดประสงค์ คือการลดอัตตาตัวตน หรือความเป็นเราออกไป โดยการสละเงิน หรือสิ่งของออกจากเรา การที่เข้าใจว่าการที่ยิ่งทำมาก ก็เป็นการสะสมบุญมากนั้น เป็นการเข้าใจเพียงแค่เปือกนอก ถ้าเราได้ศึกษาเรื่องการทำบุญ เราจะพบว่าการทำบุญนั้นมิได้ถูกจำกัดอยู่แค่เรื่องของการทำทานเพียงอย่างเดียว พระพุทธเจ้าทรงตรัสมี 10 แบบ หรือเรียกว่า"บุญกิริยาวัตถุ" มีอยู่ ๑๐ ประการ ดังนั้น ทั้ง คนจน และ คนรวย ก็สามารถทำบุญได้เช่นกัน

การทำบุญที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสมี 10 แบบ หรือเรียกว่า"บุญกิริยาวัตถุ" มีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
๑. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) - การทำบุญด้วยการให้เงิน สิ่งของ ความรู้ และหรือ การให้อภัยทาน
๒. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) - การทำบุญด้วยการรักษาศีล มีความประพฤติดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้ง
ทางกาย วาจา และใจ
ทางกาย วาจา และใจ
๓. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) - การทำบุญด้วยการปฏิบัติธรรม บำเพ็ญสมาธิภาวนา
๔. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) - การประพฤติตนอ่อนน้อม
๕. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) - การช่วยเหลือ ขวนขวาย รับใช้
๖. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) - การเฉลี่ยความดีให้แก่ผู้อื่น เช่น การบอกบุญ
๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) - การแสดงความยินดีเมื่อได้ทราบว่า ผู้อื่นกระทำความดี หรือการ
อนุโมทนา
อนุโมทนา
๘. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) - การฟังธรรม
๙. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) - การสั่งสอนธรรม,เผยแพร่ธรรมะ
๑๐. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) - การทำความเห็นให้ตรง ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
ขอเชิญชวนร่วมทำบุญสร้างกุศล ด้วยการเช่าบูชาพระ วัตถุมงคล พระเครื่อง จากเกจิอาจารย์ชื่อดัง ทั่วประเทศไทย ... คลิก


ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น